ผู้เขียน หัวข้อ: ออกแบบบ้านสองชั้น: มัดรวมหลังคา 3 แบบ ไว้ในบ้านหลังเดียว  (อ่าน 152 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 746
    • ดูรายละเอียด
เคยไหมที่ความชอบทำให้รู้สึกลังเลสับสน บ้านแบบนั้นก็อยากได้ หลังคาทรงนี้ก็ชอบ แต่สิ่งที่มองไว้ไม่ใช่สไตล์เดียวกัน แล้วจะมารวมกันอยู่ในบ้านหลังเดียวได้อย่างไร สำหรับใครที่กำลังมีคำถามและอยากหาคำตอบ อยากแนะนำให้แวะมาดูบ้านหลังนี้ครับ เพราะเจ้าของต้องการสร้างบ้านที่ออกแบบ Façade แบบมินิมอล เส้นสายเรียบง่ายคมชัด แต่ในขระเดียวกันก็ชอบข้อดีของบ้านหลังคาจั่วที่ดูเข้าถึงง่ายและอบอุ่น ส่วนวัสดุก็ไม่ควรต่างกับบ้านรอบข้างเท่าไหร่นัก ทำให้สามารถเชื่อมโยงเข้ากับเพื่อนบ้านได้ไม่ยาก ซึ่งสถาปนิกตีโจทย์ออกมาได้อย่างน่าสนุกทีเดียวครับ


บ้านขนาด 278 ตารางเมตร ส่วนหนึ่งของบ้านเป็นรูปทรงหลังคาจั่ว ด้านหน้าในชั้นล่างหลังคากันสาดยื่นออกมาแบบเพิงหมาแหงาน ส่วนกรอบหน้าบ้านอีกด้านที่ทำหน้าที่กันสาดบนชั้นสอง จะทำเป็นกรอบคอนกรีตสีขาวขนาดใหญ่สไตล์โมเดิร์น ตัดกับสีกระเบื้องดินเผาสีแดงและอิฐช่องลมโทนสีใกล้กัน ซึ่งเป็นวัสดุพื้นถิ่นที่คนในชุมชนนิยมใช้ เป็นการประสานรวมบ้านสไตล์ร่วมสมัยเข้ากับโมเดิร์นผ่านวัสดุที่หาได้ในตลาดก่อสร้างใกล้บ้าน

ภูมิทัศน์ในบริเวณทางเข้าได้รับการออกแบบให้สดชื่น ด้วยการจัดสนามหญ้าเขียวๆ ขนาดใหญ่ มีบ่อปลาให้เด็ก ๆ ได้แวะเวียนมาชมเล่น แต่ส่วนที่สะดุดตาที่สุดคงจะเป็นฉากขนาดใหญ่ที่เรียกตามภาษาถิ่นว่า “จาลี” เป็นผนังโค้งโอบด้านข้าง ช่วยพรางสายตาจากเพื่อนบ้าน และกำบังพรางแสงในช่วงบ่ายที่ค่อนข้างรุนแรง ส่วนช่วงเย็นแสงแดดจะส่องจากทิศตะวันตกมายังสวนหน้าบ้านผ่านกำแพงนี้ เกิดแสงสะท้อนจากผืนน้ำที่สวยงาม ทำให้ที่นี่เป็นสถานที่โปรดสำหรับสมาชิกในครอบครัวในช่วงเย็น


การจัดพื้นที่ภายในเน้นทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวมากขึ้น ความตั้งใจคือการสร้างพื้นที่ให้มีความเชื่อมต่อ เพื่อสร้างความเชื่อมโยงทางสายตาและการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นในแนวนอนหรือแนวตั้ง โดยการเจาะช่องว่างแนวตั้งขึ้นไปเป็นโถงสูงตรงพื้นที่ทานอาหารชั้นล่าง และบันไดโปร่งๆ เป็นจุดศูนย์กลาง ในระหว่างชั้นจึงสามารถมองเห็นกันได้หมด การเปิดกว้างของบ้านและการจัดวางตำแหน่งช่องแสงขนาดใหญ่ช่วยให้แสงและการระบายอากาศตลอดทั้งวัน

ความลาดเอียงของไซต์นั้น หลายๆ คนอาจจะเห็นว่าเป็นข้อจำกัด แต่ในไซต์นี้ความเป็นเนินถูกนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ด้วยการออกแบบบ้านเล่นระดับ ค่อยๆ เพิ่มความสูงขึ้นตามสเต็ปจนเกิดเป็นชั้นลอยเล็ก ๆ ที่แวะพักเป็นห้องนั่งเล่น ในระหว่างชั้นจะมีบันไดที่มีความสูงไม่มากเป็นตัวกลางเชื่อมต่อ โดยที่ตัวราวบันไดจะใช้วัสดุกระจกโปร่งใส เป็นวิธีง่ายๆ ที่ช่วยลดอุปสรรคในการมองเห็นจะหว่างพื้นที่ลงได้ เป็นการแบ่งซอยพื้นที่ให้ใช้งานได้มากขึ้นแบบไม่ทำให้รู้สึกอึดอัดหรือแคบลง


ห้องนอนชั้นบนและชั้นล่างจะอยู่ในตำแหน่งที่ตรงกัน ในส่วนของชั้นล่างเปิดประตูออกไปจะเจอกับสวนที่จัดเอาไว้ในตัวบ้าน ส่วนชั้นบนจะมีความพิเศษตรงที่เพดานห้องสูงกว่า เนื่องจากสถาปนิกออกแบบโครงสร้างให้โชว์แนวจั่วตามรูปทรงหลังคา โดยไม่มีฝ้าเพดานใด ๆ ระยะห่างจากพื้นถึงเพดานจึงค่อนข้างมาก และยังเพิ่มกระจกใสในด้านหนึ่งของจั่ว ช่วยให้ห้องมีความสว่างจากแสงธรรมชาติ และยังได้รับวิวในมุมสูงจนมองเห็นท้องฟ้าได้


บ้านเล่นระดับ เป็นอีกหนึ่งการจัดการภายในบ้าน ที่ใช้รูปแบบการเล่นระดับของพื้นที่แบบค่อย ๆ ไต่ระดับสู่แต่ละห้องทีละครึ่งชั้น โดยมีบันไดมาเป็นตัวช่วยในการสร้างสเต็ปของแต่ละพื้นที่ วิธีการเล่นระดับนี้ นอกจากจะเป็นการแบ่งฟังก์ชันอย่างเป็นสัดส่วนโดยไม่รู้สึกอึดอัด ช่วยให้สเปซภายในบ้าน ดูโปร่งโล่งมากขึ้น และอากาศไหลเวียนทั่วถึงด้วยแล้ว ยังทำให้ทั้งบ้านดูเชื่อมต่อเป็นบริเวณเดียวกัน เพราะระยะทางในการเดินขึ้นแต่ละชั้นไม่ได้มีความสูงมากเท่าบันไดบ้านสองชั้นตามปกติ หากติดตั้งบันไดโปร่ง ๆ แบบไม่มีลูกตั้ง ก็จะสามารถมองลงมาเห็นถึงชั้นล่าง จากชั้นล่างก็มองเห็นข้างบนได้อย่างต่อเนื่อง



ออกแบบบ้านสองชั้น: มัดรวมหลังคา 3 แบบ ไว้ในบ้านหลังเดียว อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://luxuryhomesdesigns.com/

 

ลงประกาศฟรี ติดอันดับ Google โฆษณาฟรี ประกาศฟรี ขายฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทเว็บไซต์ฟรี