ผู้เขียน หัวข้อ: การออกกำลังกายกับโรคหัวใจ  (อ่าน 65 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 746
    • ดูรายละเอียด
การออกกำลังกายกับโรคหัวใจ
« เมื่อ: 05 เมษายน 2024, 10:33:54 am »
ใครที่คิดว่าผู้ป่วยโรคหัวใจห้ามออกกำลังกาย เป็นความคิดผิดถนัดเลยครับ เป็นการดีซะอีกที่ผู้ป่วยออกกำลังกายเพื่อช่วยในการบริหารหัวใจครับ แต่ทั้งนี้ การออกกำลังกายควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้วย โดยแพทย์จะพิจารณาเป็นรายบุคคลขึ้นอยู่กับสภาพโรคหัวใจที่แตกต่างกัน ฉบับนี้ผมมีวิธีปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจที่อยากออกกำลังกายมาให้ฝากครับ

    การเริ่มต้นออกกำลังกายควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ก่อน เพื่อประเมินสภาพของร่างกาย โรคแทรกซ้อน การเฝ้าติดตามการเต้นของหัวใจ การให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้อาการ สัญญาณเตือนภัย การกำหนดความแรงของการออกกำลังกาย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูโรคหัวใจจะทำการทดสอบทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกาย เพื่อหาความเหมาะสมให้

1.    ประเภทของการออกกำลังกายที่เหมาะสม คือ การออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น การเดิน การวิ่ง การว่ายน้ำ การขี่จักรยานอยู่กับที่

2.    งดออกกำลังกายถ้ามีอาการไข้ ท้องเสีย พักผ่อนไม่เพียงพอ

3.    ระยะเวลาในการออกกำลังกายประมาณ 20-30 นาทีต่อครั้ง และควรปฏิบัติต่อเนื่องสัปดาห์ละ 3 – 5 วัน เป็นเวลาเดียวกันทุกวัน

4.    ไม่ออกกำลังกายหลังอิ่มอาหารทันที ควรรออย่างน้อย 1 ½ – 2 ชั่วโมง

5.    ควรออกกำลังกายในสถานที่ที่ไม่แออัด อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป

6.    อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ ควรดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อชดเชยการเสียน้ำทั้งก่อน ระหว่าง และหลังกายออกกำลังกาย

7.    อย่ากลั้นหายใจขณะออกกำลังกาย ให้หายใจปกติ การหายใจไม่ควรติดขัด และควรจะพูดคุยได้ไม่เหนื่อยหอบ

8.    ต้องอุ่นเครื่อง (Warm-Up) และเบาเครื่อง (Cool – Down) ก่อนหยุดการออกกำลังกายเสมอ

9.    สวมเสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้และรองเท้าที่สวมใส่สบาย

10.    ต้องมียาพ่นหรือยาอมใต้ลิ้นขยายหลอดเลือดหัวใจติดตัว

11.    ควรจะมีเพื่อนร่วมออกกำลังกายด้วย


การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคหัวใจจะส่งผลดีต่อสมรรถภาพร่างกายของผู้ป่วย เนื่องจากร่างกายมีการปรับตัวในการนำออกซิเจนไปใช้ได้ดีขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีสมรรถภาพร่างกายที่ดีช่วยลดอาการต่างๆ ของโรคหลอดเลือดหัวใจ ช่วยในการป้องกันและควบคุมเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ความผิดปกติของระดับไขมันในเลือด เพิ่มความสามารถการละลายลิ่มเลือด และปรับปรุงการทำงานของเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือด ทำให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น มีสภาพจิตใจและคุณภาพชีวิตดีขึ้นด้วย ดังนั้นโดยภาพรวมจะพบว่าการออกกำลังกายเป็นประจำสามารถลดอัตราการตายและทุพลภาพลงได้ครับ หากมีข้อสงสัยในการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ



การออกกำลังกายกับโรคหัวใจ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/252

 

ลงประกาศฟรี ติดอันดับ Google โฆษณาฟรี ประกาศฟรี ขายฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทเว็บไซต์ฟรี